บทที่ 5 การ outsource 3-2-1 ยังไป service provider ที่น่าเชื่อถือ
ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ที่ถูกลบด้วยโดยบังเอิญ ความเสียหายที่เกิดจาก ransomware หรือว่าภัยธรรมชาติ ความสำเร็จที่จะดึงข้อมูลคืนมาและความเร็วในการดึงข้อมูลขึ้นอยู่กับ การที่มีระบบสำรองข้อมูลที่ถูกที่ถูกทาง แน่นอนว่าการติดตั้งซอฟต์แวร์สำรองข้อมูลและการใช้ระบบ Cloud นั้นมันก็ไม่ได้เป็นเรื่องยากในปัจจุบัน แต่ว่าแท้จริงแล้ว ความวิกฤติของการเข้าถึงข้อมูลเมื่อมีปัญหามันไม่ได้ง่ายอย่างการสร้าง backup job แต่มันคือการออกแบบการสำรองข้อมูลในภาพรวมอย่างเป็นระบบ ไม่เพียงแต่ระบบสำรองข้อมูลแต่หมายถึง การบริหารพื้นที่เก็บข้อมูล
นั่นคือเหตุผลว่าทำไม ภาคธุรกิจจำนวนมากในปัจจุบัน ได้มองเห็นความสำคัญดังกล่าว และ มองหา cloud service provider ในลักษณะที่เป็น Software-as-a-service (SaaS) โดยมีการเพิ่มขึ้นอย่างมากตั้งแต่ช่วงโควิด จนมาถึงปัจจุบันและคิดว่า trend นี้ยังจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไปอีกสักพักเลยทีเดียว และ จากการคาดการของ Gartner พบว่า การให้บริการสำหรับ Cloud จะมีมูลค่าถึง 3.04 แสนล้านเหรียญในปี 2021 และ เพิ่มขึ้นจากปี 2020 ถึง 4.7 หมื่นล้านเหรียญ
แล้ว BaaS นั้นเหมาะกับคุณหรือไม่ ?
Backsup-as-a-Service (BaaS) นั้นจะประกอบไปด้วย 2 องค์ประกอบคือ เนื้อที่สำหรับการเก็บข้อมูล และ ส่วนของการบริหาร ตามมาด้วย compute และ bandwidth ที่จำเป็นต้องการสำรองข้อมูลและการ restore ข้อมูล
Basic BaaS นั้นก็ยังมีให้บริการอยู่ใน CSP บางราย ซึ่ง จะเป็นลักษณะบริการแบบไม่สามาระจัดการได้หรือที่เราเรียกว่า unmanaged hosting โดยมันจะทำหน้าที่เพียงอย่างเดียวรือให้เนื้อที่ในการสำรองข้อมูล ซึ่งการให้บริการแบบนี้ก็จะมีราคาถูกแต่แน่นอนว่า เมื่อขาดการเข้าถึงและการจัดการ มันก็ทำให้การได้รับความนิยมนั้นน้อยลงไปอย่างต่อเนื่อง เพราะ CSP ส่วนใหญ่นั้น จะให้บริการการจัดการไม่ว่า จะเป็นผ่าน backup software เอง หรือว่า Web UI เช่นการจัดการ job การ monitor job
การสำรองช้อมูลนั้นอาจจะดูเหมือนว่าเป็นเรื่องง่าย แต่ เรื่องที่ยุ่งยากคือการทำการการกู้ข้อมูลคืนหรือการทำ recovery ซึ่งขึ้นอยู่กับว่า CSP แต่ละรายนั้นจัดการและมีขั้นตอนใดบ้างเมื่อลูกค้าต้องการกู้ข้อมูลคืนมา
การเลือกอย่างชาญฉลาด
ในขณะที่ในท้องตลาดนั้นมี CSP อยู่เป็นจำนวนมาก แล้วเราจะมีหลักการเลือกอย่างไร คำตอบนี้อาจจะขึ้นอยู่กับว่าองค์กรของคุณนั้นมีความต้องการอย่างไร ทั้งฟีเจอร์ของการสำรองและการดึงข้อมูลคืน งั้นเรามาดูกันเลยว่าหลักการพื้นฐานในการเลือก CSP นั้นมีอย่างไรบ้าง
- Geography alignment หากองค์กรของคุณมีความต้องการแบบเฉพาะเจาะจงสักหน่อยในเรื่อง เราจะเก็บข้อมูลไว้ที่สถานที่ใดเป็นพิเศษ เพราะแน่นอนว่า ระยะทางมีผลกับความเร็วและ latency เป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้นเมื่อเลือก CSP ท่านก็อาจจะต้องจำเป็นที่จะต้องดูว่า CSP รายนั้นมี data center อยู่ใน location ที่ท่านต้องการหรือไม่
- ความรู้ด้านมาตรฐาน ทั้งนี้เพราะว่าบางองค์กรนั้นมีระบบมาตรฐานคุมอยู่ เพราะฉะนั้น เมื่อท่านนำข้อมูลไปเก็บนอกสถานที่ ท่านก็จำเป็นที่จะต้องแน่ในว่า สถานที่นั้นๆ มีระบบมาตรฐานกำกับเพื่อให้ comply กับมาตรฐานที่ท่านต้องการ
- ลักษณะการ host บางครั้งมันก็เป็นคำถามที่ฟังแล้วอาจจะน่ากลัว เช่นท่านมีความมั่นใจมากแค่ไหนหากว่าข้อมูลของท่านเก็บอยู่ใน public cloud หากว่าเป็น BaaS จะมีลักษณะการทำงานของ server แบบไหนบ้าง ท่านจะต้องศึกษากับ CSP แต่ละเจ้า
- สถาปัตยกรรมของ server แน่นอนว่า ทั้ง Hardware และ software ในการจัดการ cloud นั้นก็มีหลายเจ้า เพราะฉะนั้น ในเรื่องของ redundancy เอย ความปลอดภัยเอย เป็นเรื่องที่ท่านจะต้องขอจาก CSP
- DR Services การให้บริการ Disaster Recovery as a Service (DRaaS) มีอยู่หรือไม่
- Hypervisor agnostic ลองเช็คว่า CSP ที่ท่านสนใจนั้น รองรับทั้ง VMware และ Hyper-V กรณีที่ท่านต้องการจะ backup เพราะทั้งสองเทคโนโลยีนั้นต่างกัน
- ระดับการให้บริการ เช่น ในเรื่องของ ประสิทธิภาพและการขยาย รวมถึงการ recovery แต่ละ workload
- RTO & RPO เวลาที่กู้คืนและ ระยะเวลาท่รับได้ในการที่ข้อมูลหาย ท่านจะทนได้เพียงใด
ก็เรียกว่าเป็นอันจบบริบูรณ์สำหรับบทความ 3 ตอน เราหวังว่า ท่านผู้ท่านทุกท่าน คงจะได้ความรู้ไปไม่มากก็น้อย เราจะพยายามนำเสนอบทความต่อไปเรื่อยๆ เพื่อให้ระบบของท่านปลอดจากภัยทางอินเตอร์เน็ต